มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับสปลิทเฟสมอเตอร์
(Split-phase motor)
มอเตอร์ชนิดนี้นิยมใช้งานมากในตู้เย็น
เครื่องสูบนํ้าขนาดเล็ก เครื่องซักผ้า เป็นต้
ส่วนประกอบที่สำคัญ
-โรเตอร์ทำด้วยแผ่นเหล็กบางๆ (Laminated) อัดซ้อนกันเป็นแกนและมีเพลาร้อยทะลุเหล็กบางๆเพื่อยึดให้แน่นรอบโรเตอร์นี้จะมีร่องไปตามทางยาวในร่องนี้จะมีทองแดงหรืออลูมิเนียม
เส้นโตๆฝังอยู่โดยรอบปลายของทองแดงหรืออลูมิเนียมนี้จะเชื่อมติดอยู่กับวงแหวนทองแดงหรืออลูมิเนียม
ซึ่งมีลักษณะคล้ายกรงกระรอกจึงเรียกชื่อว่าโรเตอร์กรงกระรอก (Squirrel cagerotor)
-สเตเตอร์ (Stator) หรือเรียกว่าโครงสร้างสนามแม่เหล็กซึ่งประกอบด้วยแผ่นเหล็กบางๆแน่มีร่องสำเร็จไว้ใส่ขดลวดเรียกวาช่องสลอต
(slot) อัดเป็นปึกแผ่น
อยู่ภายในกรอบโครง (Frame) ซึ่งเฟรมนั้น จะทำมาจากเหล็กหล่อ (Cast iron)หรือเหล็กเหนียว
(Steel) ที่สเตเตอร์ของสปลิทเฟสมอเตอร์จะมีขดลวดพันอยู่
2ชุด
คือขดรันหรือขดเมน (Running Windingหรือ Main Winding) พันด้วยลวดเส้นใหญ่จำนวนรอบมากขดลวดรันนี้จะมีไฟฟ้าไหลผ่านอยู่ตลอดเวลา
ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มสตาร์ทหรือทำงานปกติ ขดลวดชุดที่สอง สำหรับเริ่มหมุนหรือขดสตาร์ต
(Starting winding) พันด้วยลวดเส้นเล็กและจำนวนรอบน้อยกว่าขดรันขดลวดสตาร์ท
จะต่ออนุกรมอยู่กับสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางแล้วจึงนำไปต่อขนานกับขดรัน
*
ฝาครอบของมอเตอร์ทั้งสองข้างส่วนใหญ่ทำมาจากเหล็กหล่อหรือเหล็กเหนี่ยวทั้งสองข้างจะถูกยึดด้วยสลักเกลียวให้แน่นและย้งมีแบริ่งแบบตลับลูกปืน
(Bal bearing) สำหรับรอง
เพลาในการหมุนของโรเตอร์ใหตรงแนวศูนย์กลางไม่เกิดการเสียดสีกับสเตเตอร์และที่ฝาปิดอีกด้านหนึ่งจะมีส่วนประกอบของสวิทช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางอยู่ในส่วนที่เป็นหน้าสัมผัสที่อยู่กับที่
- สวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Cntricfugal switch)
สวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางนี้ทำหน้าที่ตัดวงจรสตาร์ทหรือบางที่เรียกว่าสวิทช์ตัดวงจรสตาร์ทสวิตช์แรงเหวี่ยงนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ2 ส่วนดังนี้
คือส่วนที่อยู่กับที่ (Stationary part) จะประกอบติดอยู่กับฝาปิดหัวท้ายของมอเตอร์ซึ่งเป็นส่วนของหน้าสัมผัสหรือหน้าทองขาวอยู่
2 อันและส่วนที่หมุน
(Rotating part) ส่วนที่ติดอยู่กับเพลาของโรเตอร์การทำงานของสวิทช์หนีศูนย์กลางเมือความเร็วรอบของมอเตอร์ได้
75
เปอร์เซ็นต์ของความเร็วรอบสูงสุดของมอเตอร์จะทำให้ส่วนที่ติดอยู่กับแกนเพลาของโรเตอร์ผลักดันส่วนที่ติดตั้งอยู่กับฝาของมอเตอร์
ทำให้หน้าสัมผัสแยกออกจากกันตัดวงจรขดสตาร์อย่างอัตโนมัติ
หลักการทำงานของสปลิทเฟสมอเตอร์
การทำงานอาศัยหลักการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้านั้นเอง
โดยที่ขดรันและขดสตาร์ทที่วางทำมุมกัน 90 องศาทางไฟฟ้าเพื่อทำให้เกิดสนามแม่เหล็กหมุน
(Rotating magneticfield) ไปเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไหลในขดลวดกรงกระรอก
(Squirrelcagewinding) กระแสส่วนนี้จะสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นไปผลักกับสนามแม่เหล็กที่สเตเตอร์
เกิดเป็นแรงบิดที่โรเตอร์ให้หมุนไปเมื่อโรเตอร์หมุนด้วยความเร็ว 75 เปอร์เซ็นต์ของความเร็วสูงสุดสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางจะตัดขดลวดสตาร์ทออก
จากวงจรขดลวดสตาร์ทจะทำงานเฉพาะตอนสตาร์ทเท่านั้น
ส่วนขดรันจะทำงานตลอดตั้งแต่เริ่มเดินมอเตอร์จนหยุดหมุน
เมื่อจะนำมอเตอร์นี้ไปใช้งานต้องให้หมุนตัวเปล่าก่อนแล้วจึงจะต่อโหลด
*
เมื่อมอเตอร์หมุนไปทิศทางใดทิศทางหนึ่งถ้าต้องการกลับทิศทางการหมุน
ให้หมุนซ้ายหรือหมุนขวาสามารถทำได้โดยกลับทิศทางกระแสไฟฟ้าที่เข้าที่ขดรันหรือขดสตาร์ทก็ได้ (กลับสายที่ขดรันหรือขดสตาร์ทก็ได้)
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับคาปาซิเตอร์มอเตอร์(Capacitor motor)
คาปาซิสตอร์เตอร์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส
ที่มีลักษณะคล้ายสปลิทเฟสมอเตอร์มากต่างกันตรงที่มีคาปาซิเตอร์เพิ่มขึ้นมา
ทำให้มอเตอร์แบบนี้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าสปลิทเฟสมอเตอร์
คือมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงใช้กระแสขณะสตาร์ทน้อย
ส่วนประกอบของคาปาซิเตอร์มอเตอร์
1.
โรเตอร์เป็นแบบกรงกระรอก
2.
สเตเตอร์ประกอบด้วยขดลวด2 ชุด คือ
ชุดสตาร์ทและชุดรัน
3. ฝาปิดหัวท้ายประกอบด้วย
ปลอกทองเหลือง( Bush )หรือตลับลูกปืน( Ball bearing
) สำหรับรองรับเพลา
4.
คาปาซิเตอร์หรือคอนเดนเซอร์ ( Capacitor or Condenser)ที่ใช้กับมอเตอร์แบบเฟสเดียวมี 3 ชนิดคือ
1) แบบกระดาษหรือPaper capasitor
2) แบบเติมนํ้ามันหรือ Oil -filled capasitor
3) แบบนํ้ายาไฟฟ้าหรือElectrolytic capasitor
หลักการทำงานของคาปาซิเตอร์มอเตอร์
ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์เหมือนกับสปลิทเฟส
แต่วงจรขดลวดสตาร์ทพันด้วยขดลวดใหญ่ขึ้นกว่าสปลิทเฟส
และพันจำนวนรอบมากขึ้นกว่าขดลวดชุดรัน แล้วต่อตัวคาปาซิเตอร์ ( ชนิดอิเล็กโทรไลต์
) อนุกรมเข้าในวงจรขดลวดสตาร์ท
มีสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางตัดตัวคาปาซิสเตอร์และขดสตาร์ทออกจากวงจร
* การกลับทางหมุนการกลับทางหมุนของคาปาซิเตอร์มอเตอร์คือ
กลับขดลวดขดใดขดหนึ่งขดสตาร์ทหรือขดรันเช่นเดีวยกันกับสปลิทเฟสมอเตอร์
แหล่งข้อมูล: http://202.129.59.73/tn/motor10-52/motor4.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น