วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

จานเพาะเชื้อ




ใช้สำหรับเพาะเลี้ยงเชื้อหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของพืช ทำด้วยวัสดุที่เป็นแก้ว หรือพลาสติกมีลักษณะเป็นรูปจานทรงกระบอก จานเพาะเชื้อนี้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยการทำให้ปราศจากเชื้อก่อน ด้วยวิธีการ สเตอริไรส์ (Sterilization) ในหม้อนึ่งความดัน (autoclave) หรือให้ความร้อนในตู้อบ ที่อุณหภูมิ 160 °C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หากทำการฆ่าเชื้อได้ไม่หมด เมื่อนำจานเพาะเชื้อมาใช้ใหม่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อได้ เพื่อป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนสามารถใช้จานเพาะเชื้อแบบพลาสติกแทนได้ โดยใช้แล้วทิ้ง ไม่นำกลับมาใช้ใหม่ หากมีจานเพาะเชื้อจำนวนมากสามารถนำมาเรียงซ้อนกันในภาชนะทรงกระบอก ที่เรียกว่ากระบอกใส่จานเพาะเชื้อ (petri dish can)


- ทำจากแก้วโซดาไลม์
- ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ


แหล่งข้อมูล : http://glasswarechemical.com/products/product.php?id_product=56
http://glasswarechemical.com/glassware/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD-petri-dish/

ขวดวัดปริมาตร




ขวดวัดปริมาตร เป็นขวดแก้วคอยาว มีขีดแสดงปริมาตรกำกับอยู่รอบคอขวดเพียงขีดเดียว และมีจุกปิดด้านบน เพื่อให้เมื่อเขย่าสารแล้ว สารนั้นเกิดการละลายผสมกันได้อย่างทั่วถึง
ขวดวัดปริมาตร ใช้สำหรับเตรียมสารละลายที่ต้องการความเข้มข้นแน่นอน เช่น สารละลายตัวอย่าง, สารละลายมาตรฐาน แล้วทำให้สารละลายที่ได้มีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายเดิม

ขนาดที่ใช้
   - ความจุที่ใช้ ได้แก่ 50 ml, 100 ml, 250 ml, 500 ml, 1,000 ml, 2,000 ml เป็นต้น
   - ความผิดพลาดขึ้นอยู่กับความจุของขวดวัดปริมาตรและระดับคุณภาพ

ประเภทของขวดวัดปริมาตร




1.ขวดปริมาตรน้ำกลั่น (distilling flask)
ขวดปริมาตรชนิดนี้นิยมใช้ในการกลั่นของเหลว


2.ขวดวัดปริมาตร (volumetric flask)
เป็นขวดคอยาวที่มีขีดบอกปริมาตรบนคอขวดเพียงขีดเดียวนิยมใช้ในการเตรียมสารละลาย





3.ขวดปริมาตรทรงกรวย (erlenmeyer flask หรือ conical flask)                                                          ขวดปริมาตรชนิดนี้มีลักษณะเป็นทรงกรวย และมีความจุขนาดต่างๆกันแต่ที่นิยมใช้กันมากมีความจุเป็น 250-500 มล.สามารถใช้ได้ในหลายกรณี เช่นในการไตเตรท


4.flat bottom flask หรือ florence flask มีลักษณะคล้ายลูกบอลลูน
มักใช้สำหรับต้มน้ำ เตรียมแก๊ส และเป็น wash bottle


5.ขวดปริมาตรก้นกลม (round bottom flask)
ขวดปริมาตรชนิดนี้มีลักษณะเหมือนกับ flat bottom flaskแต่ตรงก้นขวดจะมีลักษณะกลม ทำให้ไม่สามารถตั้งได้

ส่วนประกอบรายละเอียดที่เขียนบนขวดวัดปริมาตร


       
1.จุกปิดขวด
2.ขีดบอกปริมาตร
3.ระดับชั้นคุณภาพ
4.วัตถุประสงค์การใช้งาน
5.อุณหภูมิอ้างอิง
6.ความคลาดเคลื่อนของปริมาตร
7.ความจุ

ข้อควรระวัง
- ขณะทำการทดลอง ควรจับที่คอขวดวัดปริมาตร อย่าจับที่ตัวขวดวัดปริมาตรเพราะจะทำให้สารละลายอุ่นขึ้น เนื่องจากความร้อนจากมือ
- เมื่อปล่อยสารละลายออกจากบิวเรตต์จนสารละลายลดลง
ถึงขีดบอกปริมาตรสุดท้ายของบิวเรตต์นั้น ๆ ต้องรีบปิดบิวเรตต์ทันทีหากปล่อยให้สารละลายเลยขีดบอกปริมาตรสุดท้ายลงมา จะไม่ทราบปริมาตรที่แน่นอนของสารละลายที่ผ่านบิวเรตต์ลงมา


แหล่งข้อมูล: http://vet.kku.ac.th/physio/labbiochem/16/volumetric%20flask-step.html

ขนแปรง



1. ขนไนล่อน Synthetic Bristle




ขนไนล่อน : มีคุณสมบัติ ที่ดีในการ ป้องกันการขูดขีด มีความแข็งแรงสูง , ยืดหยุ่น และป้องกันสารเคมีได้เป็นอย่างดี. ทำให้เกิดความเมื่อยล้าขึ้นที่ขนแปรงได้ง่ายเนื่อง จากต้องรับน้ำหนัก ที่มากขึ้น. ขนไนล่อนมีคุณสมบัติที่ดีมาก ในการทนการเสียรูป ที่เกิดขึ้นจากความร้อน, ขนไนล่อนมีแนวโน้มที่ สามาถรใช้งานขณะที่มีความร้องสูงได้ดี
ขนโพลีโพพีลีน (PP) : ขนแปรงชนิดนี้เหมาะสำหรับงานหลากหลายแบบ สามารถใช้งานในสภาวะเปียกได้เป็นอย่างดี ใช้กับของเหลว เช่น น้ำมัน, สารทำละลาย , เคมี และเป็นขนที่สามารถทนต่อกรดและด่างได้เป็นอย่างดี ไม่เหมาะกับการใช้งานในสภาวะที่มีอุณหภูมิสูง ขนแปรงมีให้เลือกทั้งที่เป็น ขนตรงหรือขนหยัก และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.15 ถึง 1.5 มิลลิเมตร สามารถระบุแบบหรือขนาดที่ใหญ่ขึ้นได้
ขนพอลิบิวทิลีนเทเรฟทาเลต (PBT - Polybutylene Terephthalate) :  ออกแบบมาเพื่อแทนที่ขนแปรงไนล่อน 6.6 และ 6.12 เนื่องจากมีราคาถูกกว่า สามารถใช้งานได้หลากหลาย ถูกพัฒนาให้มีความสามารถในการทนต่อการขูดขีดมากกว่าขนพีพี ขนแปรงจะมีความเหนียวทนทานมากกว่าวัสดุขนแปรงที่ทำมาจากไนลอน มีความสามารถในการยืดหยุ่นตัวได้ดี ทนต่อสารทำละลาย ป้องกกันการเกิดออกซิเดชั่นทีอุณหภูมิสูง ๆ ป้องกันแสงแดดขณะใช้งานกลางแจ้งได้ดี ความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ สามารถใช้กับงานน้ำได้ดีกว่าไนล่อน มีให้เลือกทั้งที่เป็น ขนตรงหรือขนหยัก และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.15 ถึง 1.8 มิลลิเมตร

2. ขนไนล่อนที่มีสารขัดพิเศษ Abrasive Bristle



ขนแปรงไนล่อนที่มีสารขัดพิเศษ
-
เม็ดสารขัดผสมอยู่ในเนื้อขนแปรง
-
มีความเหนียวสูง
-
ทนทานต่อการขัดและไม่ทำให้เกิดประกายไฟ
-
ทนทานต่อสารเคมี
-
ทนทานต่อความชื้น
-
ทนต่อความร้อนได้ดี

3. ขนธรรมชาติ Natural Bristle
คือ เส้นใยที่ได้จากธรรมชาติจริงๆ ได้มาจากทั้งขนสัตว์และขนพืช

 

ขนที่ได้จากธรรมชาติ ได้นำมาใช้สำหรับบางลักษณะงาน ซึ่งขนที่ได้จากการสังเคราะห์ไม่สามารถ ใช้งานได้ หรือไม่เหมาะสมที่จะใช้กับงานนั้นๆ ขนธรรมชาติหลัก ๆ มีหลายชนิด เช่น ขนม้า, ขนหมู, ขนหญ้าแทมปิโก้, ขนแกะ และอื่น ๆ สามารถนำมาใช้เพื่องานอุตสาหกรรมได้หลายประเภท





4. ขนลวดโลหะ Metal Bristle

ขนลวดเหล็ก : ขนลวดคุณภาพ มีคาร์บอนสูง ซึ่งผ่านขบวนการอบชุบแข็งทำให้ลวดมีความเหนียว ทนทานต่อการขัดสูง มีขนาดตั้งแต่ 0.003" (0.08 มม.) - 0.020" (0.50 มม.)

ขนสเตนเลสเกรด 302 และ 304 : ขนสเตนเลสที่นิยมใช้มี 2 เกรด คือ เกรด 302 และ 304 เกรด 302 ไม่เป็นแม่เหล็ก มีความทนทานสูงมาก ทนทานต่อการกัดกร่อนดีมาก เกรด 304 ใช้กันอยู่กว้างขวาง และมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับเกรด 302. ทั้งเกรด 302 และ 304 ถือว่ามีคุณมบัติเป็นแม่เหล็กน้อยมาก เมือใช้งานขณะที่อุณหภูมิต่ำๆ ใช้ได้ดีกับงานขึ้นรูปโลหะงานเชื่อม. เหมาะกับการใช้งานในสภาวะปนเปื้อนเกิดขึ้น ใช้กับการขัดสเตนเลสสตีล หรือวัสดุกึ่งโลหะ มีขนาดตั้งแต่ 0.003" (0.08 มม.) - 0.020" (0.50 มม.)

ขนสเตนเลสเกรด 316 : ใช้กับงานที่มีอุณหภูมิสูง ขนแปรงมีความต้านทานแรงดึงสูง รวมถึงใช้กับงานที่มีสารเคมีรุนแรง ซึ่งทนได้มากกว่าเกรด 304. ใช้กับงานที่มีการปนเปื้อนสูงมาก มีขนาดตั้งแต่ 0.003" (0.08 มม.) - 0.020" (0.50 มม.)

ขนทองเหลืองแท้ : ขนทองเหลืองเป็นโลหะที่ไม่ใช้เหล็ก นุ่มกว่าขนสเตนเลสสตีลและขนลวดเหล็ก ช่วยลดการเกิดปะกายไฟที่เกิดจากการขัด ทนต่อการกัดกร่อน ดีสำหรับงานที่ต้องการขัดพื้นผิว ที่ต้องการความหยาบน้อยๆ มีขนาดตั้งแต่ 0.003" (0.08 มม.) - 0.020" (0.50 มม.)

ขนฟอสเฟอรัส-บรอนด์ : เป็นโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก ทนต่อการกัดกร่อนดีมาก ทนต่อการต่อการขัด ช่วยลดการเกิดปะกายไฟที่เกิดจากการขัด ทนต่อการกัดกร่อนดีกว่ามีความแข็งแรงสูงกว่าทองเหลือง มีขนาดตั้งแต่ 0.003" (0.08 มม.) - 0.020" (0.50 มม.)




แหล่งข้อมูล: http://www.viriyatechnology.com/Bristle01.php