วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ขวดวัดปริมาตร




ขวดวัดปริมาตร เป็นขวดแก้วคอยาว มีขีดแสดงปริมาตรกำกับอยู่รอบคอขวดเพียงขีดเดียว และมีจุกปิดด้านบน เพื่อให้เมื่อเขย่าสารแล้ว สารนั้นเกิดการละลายผสมกันได้อย่างทั่วถึง
ขวดวัดปริมาตร ใช้สำหรับเตรียมสารละลายที่ต้องการความเข้มข้นแน่นอน เช่น สารละลายตัวอย่าง, สารละลายมาตรฐาน แล้วทำให้สารละลายที่ได้มีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายเดิม

ขนาดที่ใช้
   - ความจุที่ใช้ ได้แก่ 50 ml, 100 ml, 250 ml, 500 ml, 1,000 ml, 2,000 ml เป็นต้น
   - ความผิดพลาดขึ้นอยู่กับความจุของขวดวัดปริมาตรและระดับคุณภาพ

ประเภทของขวดวัดปริมาตร




1.ขวดปริมาตรน้ำกลั่น (distilling flask)
ขวดปริมาตรชนิดนี้นิยมใช้ในการกลั่นของเหลว


2.ขวดวัดปริมาตร (volumetric flask)
เป็นขวดคอยาวที่มีขีดบอกปริมาตรบนคอขวดเพียงขีดเดียวนิยมใช้ในการเตรียมสารละลาย





3.ขวดปริมาตรทรงกรวย (erlenmeyer flask หรือ conical flask)                                                          ขวดปริมาตรชนิดนี้มีลักษณะเป็นทรงกรวย และมีความจุขนาดต่างๆกันแต่ที่นิยมใช้กันมากมีความจุเป็น 250-500 มล.สามารถใช้ได้ในหลายกรณี เช่นในการไตเตรท


4.flat bottom flask หรือ florence flask มีลักษณะคล้ายลูกบอลลูน
มักใช้สำหรับต้มน้ำ เตรียมแก๊ส และเป็น wash bottle


5.ขวดปริมาตรก้นกลม (round bottom flask)
ขวดปริมาตรชนิดนี้มีลักษณะเหมือนกับ flat bottom flaskแต่ตรงก้นขวดจะมีลักษณะกลม ทำให้ไม่สามารถตั้งได้

ส่วนประกอบรายละเอียดที่เขียนบนขวดวัดปริมาตร


       
1.จุกปิดขวด
2.ขีดบอกปริมาตร
3.ระดับชั้นคุณภาพ
4.วัตถุประสงค์การใช้งาน
5.อุณหภูมิอ้างอิง
6.ความคลาดเคลื่อนของปริมาตร
7.ความจุ

ข้อควรระวัง
- ขณะทำการทดลอง ควรจับที่คอขวดวัดปริมาตร อย่าจับที่ตัวขวดวัดปริมาตรเพราะจะทำให้สารละลายอุ่นขึ้น เนื่องจากความร้อนจากมือ
- เมื่อปล่อยสารละลายออกจากบิวเรตต์จนสารละลายลดลง
ถึงขีดบอกปริมาตรสุดท้ายของบิวเรตต์นั้น ๆ ต้องรีบปิดบิวเรตต์ทันทีหากปล่อยให้สารละลายเลยขีดบอกปริมาตรสุดท้ายลงมา จะไม่ทราบปริมาตรที่แน่นอนของสารละลายที่ผ่านบิวเรตต์ลงมา


แหล่งข้อมูล: http://vet.kku.ac.th/physio/labbiochem/16/volumetric%20flask-step.html

1 ความคิดเห็น: